เมนู

เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อละสังโยชน์อัน เป็นส่วนเบื้องสูง 5 ประการนี้แล.
(พึงขยายความโพชฌงค์สังยุต เหมือนมรรคสังยุต)

เรื่องในวรรคนี้ คือ


1. อัฏฐิกสัญญา 2. ปุฬวกสัญญา 3. วินีลกสัญญา 4. วิจฉิททก-
สัญญา 5. อุทธุมาตกสัญญา 6. เมตตา 7. กรุณา 8. มุทิตา 9. อุเบกขา
10. อานาปานสติ.
จบอานาปานวรรคที่ 7 แห่งโพชฌงค์สังยุต
1. อสุภสัญญา 2. มรณสัญญา 3. อาหาเรปฏิกูลสัญญา 4. สัพพ-
โลเกอนภิรตสัญญา 5. อนิจจสัญญา 6. อนิจเจทุกขสัญญา 7. ทุกเธอนัตต
สัญญา 8. ปหานสัญญา 9. วิราคสัญญา 10. นิโรธสัญญา.
จบนิโรธวรรคที่ 8 แห่งโพชฌงค์สังยุต
[672] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่
ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีนฉันใด ฯลฯ
แม่น้ำทั้ง 6 สายไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้ง 6 สายไหลไปสู่สมุทร
ทั้ง 2 อย่าง ๆ ละ 6 รวมเป็น 12 เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าวรรค.
จบคังคาเปยยาลที่ 9
[673] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ไม่มีเท้าก็ดี 2 เท้าก็ดี 4 เท้า
ก็ดี เท้ามากก็ดี มีประมาณเท่าใด พึงขยายเนื้อความอย่างที่กล่าวนี้เป็นตัว
อย่าง.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
1. ตถาคตสูตร 2. ปทสูตร 3. กูฏสูตร 4. มูลสูตร 5. สารสูตร
6. วัสสิกสูตร 7. ราชสูตร 8. จันทิมสูตร 9. สุริยสูตร 10. วัตถสูตร
(พึงขยายความอัปปมาทวรรค ด้วยสามารถโพชฌงค์ แห่ง
โพชฌงคสังยุต)

จบอัปปมาทวรรคที่ 10 แห่งโพชฌงค์สังยุต
[674] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใด
อย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อันบุคคล
อาศัยแผ่นดินดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ ฯลฯ
(พึงขยายเนื้อความอย่างที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง)
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
1. พลสูตร 2. พีชสูตร 3. นาคสูตร 4. รุกขสูตร 5. กุมภสูตร
6. สุกสูตร 7. อากาสสูตร 8. ปฐมเมฆสูตร 9. ทุติยเมฆสูตร 10. นาวา
สูตร 11. อาคันตุกสูตร 12. นทีสูตร
(พึงขยายความพลกรณียวรรค ด้วยสามารถโพชฌงค์ แห่ง
โพชฌงคสังยุต)

จบพลกรณียวรรคที่ 11

[675] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา 3 อย่างเหล่านี้. 3 อย่าง
เป็นไฉน. คือ การเเสวงหากาม 1 กามแสวงหาภพ 1 การแสวงพรหมจรรย์ 1
(พึงขยายเนื้อความที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง.)
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
1. เอสนาสูตร 2. วิธาสูตร 3. อาสวสูตร 4. ภวสูตร 5.ปฐมทุกข-
สูตร 6 . ทุติยทุกขสูตร 7. ตติยทุกขสูตร 8. ขีลสูตร 9. มลสูตร
10. นีฆสูตร 11. เวทนาสูตร 12. ตัณหาสูตร.
(เอสนาเปยยาลแห่งโพชฌงคสังยุต บัณฑิตพึงให้พิสดาร
โดยอาศัยวิเวก)

จบเอสนาวรรคที่ 12

โอฆะ 4


[676] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอฆะ 4 ประการเหล่านั้น. 4 ประการ
เป็นไฉน. ได้แก่ โอฆะคือกาม โอฆะคือภพ โอฆะคือทิฐิ โอฆะคืออวิชชา
(พึงขยายเนื้อความดังที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง).
[677] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วน
เบื้องสูง 5 ประการเหล่านี้. 5 ประการเป็นไฉน. คือ รูปราคะ อรูปราคะ
มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 ประการนี้แล. ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7 อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้
เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 ประการเหล่านี้แล.
โพชฌงค์ 7 เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติ
สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ